มหาวิทยาลัยรามคำแหง

: 02-3108466-67   |  EN 

ผศ.ดร.วิลาสินี พิบูลย์เศรษฐ์

|
เขียนโดย PolSci.ru


ชื่อภาษาไทย : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิลาสินี พิบูลย์เศรษฐ์
ชื่อภาษาอังกฤษ : Asst. Prof. Dr.Wilasinee Piboonsate
สถานที่ติดต่อ : คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง 2086 ถนนรามคำแหง แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพฯ รหัสไปรษณีย์ 10240
E-mail address : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.


ประวัติการศึกษา
        - Doctor of Laws (International Relations), Institute of International Relations, Yunnan University (วิทยานิพนธ์ดี) ทุนรัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีน
        - รม. รัฐศาสตร์ (ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (วิทยานิพนธ์ดี)
        - อบ. อักษรศาสตร์ (ภาษาจีน เกียรตินิยมอันดับสอง) มหาวิทยาลัยศิลปากร

ประสบการณ์การทำงาน
         พ.ศ. 2560 - ปัจจุบัน         อาจารย์ประจำภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์ ม.รามคำแหง
         พ.ศ.2560-2561             อาจารย์พิเศษสถาบันภาษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง
         พ.ศ. 2559                     อาจารย์ประจำสาขาภาษาจีนธุรกิจ คณะศิลปศาสตร์ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์

ประวัติการได้รับทุนการศึกษา
         - นักศึกษาทุนในกลุ่มประเทศอนุภาคลุ่มแม่น้ำโขง ประจำปี พ.ศ. 2548 ณ มหาวิทยาลัยยูนนาน มณฑลยูนนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน
         - นักศึกษาทุนรัฐบาลสาธารณประชาชนจีน (ระดับปริญญาเอก) ณ มหาวิทยาลัยยูนนาน มณฑลยูนนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน พ.ศ.2555-2558

ประเด็นการศึกษาที่สนใจ
           นโยบายต่างประเทศจีน, เศรษฐกิจการเมืองจีน, จีนศึกษา, ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในกลุ่มล้านช้าง-แม่โขง

ผลงานทางวิชาการ:
        บทความวิชาการ:
             - วิลาสินี พิบูลย์เศรษฐ์. (2559). นโยบายต่างประเทศจีนต่อแอฟริกาในศตวรรษที่ 21. วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม – สิงหาคม 2016), หน้า 237-248.  (วารสารผ่านการรับรองคุณภาพของ TCI ฐาน 1)
             - วิลาสินี พิบูลย์เศรษฐ์. (2561). ยุทธศาสตร์ความเชื่อมโยงของมณฑลยูนนานภายใต้ข้อริเริ่มแถบและเส้นทาง. จุลสารจับตามหาอำนาจปีที่ 1 ฉบับที่ 1 หน้า 1-25. ภายใต้ทุนสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ประจำปีงบประมาณ 2560
             - วิลาสินี พิบูลย์เศรษฐ์. (2562). The Connectivity between Thailand and China (Yunnan) under Belt and Road Initiative (BRI): Thailand perspectives and opportunities. ได้รับทุนจากสาธารณรัฐประชาชนจีนให้นำเสนอในการประชุมนานาชาติว่าด้วยข้อริเริ่มแถบและเส้นทางในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียใต้: โอกาสและความท้าทาย (International Workshop on the Belt and Road Initiative in Southeast and South Asia: Opportunities and Challenges) จัดโดยสถาบันวิชาการวิทยาศาสตร์แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (Institute of Geographic Sciences and Natural Resources Research, The Chinese Academy of Sciences) ณ กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน ระหว่างวันที่ 13-14 พฤษภาคม 2562

        บทความวิจัย:
            - วิลาสินี พิบูลย์เศรษฐ์.(2562). นโยบายต่างประเทศไทยต่อความร่วมมือล้านช้างแม่โขง. นำเสนอผลงานวิจัยภายใต้การสนับสนุนของศูนย์วิจัยยุทธศาสตร์ไทย-จีน สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ในการประชุมระดับนานาชาติการสัมมนาวิจัยยุทธศาสตร์ไทย-จีน ครั้งที่ 8 ณ นครเซี่ยเหมิน มณฑลฝูเจี้ยน สาธารณรัฐประชาชนจีน ระหว่างวันที่ 25-29 มิถุนายน 2562

       โครงการวิจัย:
            - งานวิจัยเรื่อง “นโยบายต่างประเทศไทยต่อความร่วมมือล้านช้างแม่โขง” ภายใต้การสนับสนุนการทำวิจัยจากศูนย์วิจัยยุทธศาสตร์ไทย-จีน สำนักงานคณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติ (วช.) พ.ศ.2562
            - โครงการวิจัยเรื่อง “ความร่วมมือล้านช้าง-แม่น้ำโขงผลที่มีผลกระทบต่อนโยบายประเทศไทย 4.0 และระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC)”  (อยู่ระหว่างขั้นตอนการวิจัย ภายใต้โครงการขอทุนวิจัยของสำนักวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยรามคำแหง พ.ศ.2562)
            - โครงการจับตามหาอำนาจจีน (China Watch) ภายใต้ชุดโครงการวิจัยเรื่อง “จับตามหาอำนาจ” (Power Watch)  ของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ประจำปีงบประมาณ 2560
            -โครงการวิจัยร่วม เรื่อง “Belt and Road Initiative and ASEAN” ภายใต้โครงการวิจัยหลักของ Institute of Geographic Sciences and Natural Resources Research, The Chinese Academy of Sciences) กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน (อยู่ระหว่างดำเนินการ)

        ผลงานวิชาการแปลหนังสือ
            - ผลงานแปลหนังสือภาษาจีน เรื่อง “Debate of the Century: The Debate on the China Model between Zhang Weiwei and Francis Fukuyama (世界之辩)”  ในโครงการเผยแพร่ความรู้ศักยภาพและการผงาดของจีนของศูนย์วิจัยยุทธศาสตร์ไทย-จีน สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.), 2562

         ผลงานวิชาการในรูปแบบอื่นๆ
              ผลงานสอนร่วมกับมหาวิทยาลัย Taiwan National Open University (國立空中大學) เผยแพร่ในเวปไซด์ NOU-Thai MOOC ในวิชาโอกาสทางธุรกิจในเอเชียตะวันออก หัวข้อ “ประเทศไทยกับนโยบายไทยแลนด์ 4.0 และ EEC”, 2562

          เอกสารประกอบการสอน/ตำรา
            - วิชา POL4211 นโยบายต่างประเทศจีน
            - วิชา POL4265 สัมมนายุทธศาสตร์และนโยบายป้องกันของจีน
            - วิชา POL6200 (ปริญญาโท) ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
            - วิชา POL6201 (ปริญญาโท) เหตุการณ์ปัจจุบันระหว่างประเทศ
            - วิชา POL6202 (ปริญญาโท) นโยบายต่างประเทศไทย

          นักวิจัย
            - นักวิจัยประจำศูนย์วิจัยยุทธศาสตร์ไทย-จีน สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) พ.ศ.2560- ปัจจุบัน
            - นักวิจัยโครงการวิจัย “จับตามหาอำนาจ” (Power Watch)  ของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)

ภาระงานสอน:
           ระดับปริญญาตรี
              - POL2200 ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเบื้องต้น
              - POL4111 แนวความคิดการเมืองของจีนยุคโบราณ
              - POL 4211 นโยบายต่างประเทศจีน
              - POL 4265 สัมมนายุทธศาสตร์และนโยบายป้องกันของจีน
              - POL 4285 เหตุการณ์ปัจจุบันระหว่างประเทศ

           ระดับปริญญาโท
              - POL6200 ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
              - POL6201 เหตุการณ์ปัจจุบันระหว่างประเทศ
              - POL6202 นโยบายต่างประเทศไทย
              - POL6093 พื้นฐานความเข้าใจทางรัฐศาสตร์
              - POL7096 วิชาค้นคว้าอิสระ
              - POL7208 ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในเอเชียตะวันออก

การบรรยาย สัมมนาและเสวนาทางวิชาการ
        - วิทยากรบรรยายพิเศษ หัวข้อ “เศรษฐกิจการเมืองและวัฒนธรรมจีนในปัจจุบัน” จัดโดยกองการต่างประเทศ สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร, ปี 2561 และ 2562
        - วิทยากรงานเสวนาวิชาการหัวข้อ “วิกฤตฮ่องกง: อำนาจ กฎหมาย และความรุนแรง” จัดโดยศูนย์ศึกษาสิทธิมนุษยชน ความขัดแย้งและสันติภาพคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2562
        - วิทยากรและผู้ดำเนินรายการเสวนาพิเศษ หัวข้อ “แนวความคิดขงจื่อใหม่: อดีต ปัจจุบันและอนาคต” จัดโดยโครงการห้องเรียนแนวความคิดการเมืองของจีนยุคโบราณ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2562
        - วิทยากรและผู้ดำเนินรายการสัมมนา หัวข้อ “สถานีการค้ากับอาลีบาบาแพลตฟอร์ม” จัดโดยมหาวิทยาลัยรามคำแหงร่วมกับ ศูนย์ศึกษายุทธศาสตร์ไทย-จีน วช. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์และอาลีบาบา กรุ๊ป, 2561
        - วิทยากรและผู้ดำเนินรายการสัมมนา หัวข้อ “ความเข้าใจในบทบาทและกลไกความร่วมมือบนเส้นทางแม่น้ำล้านช้าง-แม่โขง” จัดโดยศูนย์ศึกษายุทธศาสตร์ไทย-จีน วช. ร่วมกับ สำนักวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง, 2561
        - เข้าร่วมการประชุมนานาชาติ “The 13th China-ASEANCultural Forum” ในหัวข้อ “Towards Mutual Prosperity China-ASEAN Exchange and Cooperation across Cultural and Creative  Industries” ณ นครหนานหนิง สาธารณรัฐประชาชนจีน ณ เดือนกันยายน 2561
        - วิทยากรพิเศษ (บรรยายภาษาจีน) หัวข้อ “Thailand Overview: Politics, Economy and International Relations” จัดโดย สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์, 2559

หมวด: