ประวัติการศึกษา
พ.ศ. 2557 - รัฐศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต (การเมืองเปรียบเทียบ) คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ได้รับการประเมินระดับ “ดี”)
พ.ศ. 2551 - รัฐศาสตร์มหาบัณฑิต (การปกครอง) คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (จบการศึกษา 2551) (ทุนสนับสนุนการทำวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโท ประจำปี พ.ศ. 2551) จากสถาบันพระปกเกล้า) (ได้รับการประเมินระดับ “ดีมาก”)
พ.ศ. 2557 - ศิลปศาสตรบัณฑิต (การปกครอง) ภาครัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ตำแหน่งงานปัจจุบัน
- อาจารย์ประจำ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
ประสบการณ์การทำงาน
- อาจารย์ประจำ ภาควิชาสังคมศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร (ก.ค. 2558-ส.ค. 2560)
- นักวิจัย โครงการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 ของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ศูนย์เศรษฐศาสตร์เพื่อธุรกิจและเศรษฐศาสตร์การจัดการ คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (2554)
- นักวิจัย โครงการเอกสารสรุปผลการศึกษาเรื่องกระบวนการ กลไก แนวทางในการนำนโยบายความมั่นคงแห่งชาติ พ.ศ. 2554-2559 ไปสู่การปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ (2555)
- นักวิจัย โครงการประเมินผลการดำเนินงาน ของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ประจำปีงบประมาณ 2554 ศูนย์เศรษฐศาสตร์เพื่อธุรกิจและเศรษฐศาสตร์การจัดการ คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (2555)
- นักวิจัย โครงการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2555 ของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ศูนย์เศรษฐศาสตร์เพื่อธุรกิจและเศรษฐศาสตร์การจัดการ คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (2556)
- นักวิจัย โครงการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 ของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ศูนย์เศรษฐศาสตร์เพื่อธุรกิจและเศรษฐศาสตร์การจัดการ คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (2557)
- นักวิจัย โครงการจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาศักยภาพแรงงานด้านภาษาและวัฒนธรรม เพื่อรองรับประชาคมอาเซียน (ASEN Community: AC) ศูนย์เศรษฐศาสตร์เพื่อธุรกิจและเศรษฐศาสตร์การจัดการ คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (2558)
- นักวิจัย โครงการศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้: ศึกษากรณีการเปลี่ยนแปลงอัตลักษณ์ทางการเมืองในประเทศเมียนมาร์ สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (2558)
บทความ งานวิจัยและงานทางวิชาการ
- บทความเสนอในเวทีวิชาการ การประชุมวิชาการรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์แห่งชาติ ครั้งที่ 9 (พ.ศ. 2551) ในหัวข้อ “เศรษฐกิจการเมืองในกระบวนการผลิตเพลงลูกทุ่งไทย” จัดโดยคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- สาทร ศรีเกตุ. เศรษฐกิจการเมืองในกระบวนการผลิตเพลงลูกทุ่งไทย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณทิต สาขาการปกครอง ภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551)
- สาทร ศรีเกตุ. ‘เมื่อเพลงลูกทุ่งเล่าเรื่อง 14 ตุลา: ยมบาลเจ้าขา ความชั่วช้านั้นยังไม่ตาย’ ใน สมิทธ์ ถนอมศาสนะ. บก., เก่งกิจ กิตติเรียงลาภ, บก.ร่วม. การเมืองวัฒนธรรมยุคเดือนตุลา. (กรุงเทพฯ: มูลนิธิ 14 ตุลา, 2552)
- สาทร ศรีเกตุ. ‘ภาพสะท้อนและพลังขัดแย้งของกระบวนการเป็นสากลของรัฐในเพลงลูกทุ่งไทยช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ถึงยุคเผด็จการทหาร.’ วารสารสังคมศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีที่ 43 ฉบับที่ 2 (ก.ค. - ธ.ค. 2556)
- สาทร ศรีเกตุ. พัฒนาการความสัมพันธ์เชิงอำนาจทางเศรษฐกิจและการเมืองในวัฒนธรรมเพลงไทยสากล. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขารัฐศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557)
ที่อยู่ระหว่างดำเนินการ
- งานวิจัยเรื่อง “เรื่องเล่าที่เป็นจริงกับเครือข่ายอำนาจของชุมชน : ศึกษากรณีพิธีกรรมการทรงเจ้าและการนับถือหม้อยายของชุมชนบ้านหนองขาว จ.กาญจนบุรี” (อยู่ระหว่างการพัฒนาโครงร่างวิจัย)
- ชุดวิชาในระดับปริญญาโท “การวิเคราะห์การเมือง” หน่วยการสอนที่ 12 แนวคิดพหุวัฒนธรรม สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (อยู่ระหว่างการดำเนินการ)
ผลงานอื่นๆ
- สาทร ศรีเกตุ. เสริมความรู้เพื่อก้าวสู่อาเซียน: สาธารณรัฐอินโดนีเซีย. (กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์เพชรประกาย, 2556)
ความสนใจทางวิชาการ
- การเมืองเปรียบเทียบ
- วัฒนธรรมศึกษา วัฒนธรรมมวลชนและอุตสาหกรรมวัฒนธรรม
- เศรษฐศาสตร์การเมือง
ผศ.ดร.กฤติธี ศรีเกตุ
Category: Governing Academic Group